กล้ามเนื้อเทียมที่รักษาตัวเองได้

กล้ามเนื้อเทียมที่รักษาตัวเองได้

ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

กล้ามเนื้อนั้นเป็นส่วนสำคัญเนื่องจากร่างกายใช้สำหรับทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายใต้การควบคุมผ่านการกระตุ้นของระบบเส้นประสาทหรือการตอบสนองที่เกิดจากการถูกกระตุ้น หน้าที่ของกล้ามเนื้อทุกชนิด คือ การหดตัวเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวและทำหน้าที่ต่าง ๆ ตามแต่งานของแต่ละอวัยวะ เช่น การเคลื่อนไหวของแขนขา การย่อยอาหารของกระเพาะอาหาร การไหลเวียนโลหิตของหลอดเลือด หรือการสูบฉีดโลหิตของหัวใจ เป็นต้น ซึ่งหากกล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บหรือเสียหายแล้วจะมีความจำเป็นที่จะต้องทำการรักษาหรือทดแทนกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บหรือเสียหายไป ปัจจุบันเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) นั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการพัฒนาสำหรับการรักษาทางการแพทย์ และการทดแทนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อนั้นก็ถูกพัฒนาเพื่อใช้เป็นวิธีในการรักษาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เนื้อเยื่อเทียมสำหรับการทดแทนที่ถูกพัฒนาขึ้นในปัจจุบันนั้นยังคงมีสมบัติที่ยังคงต่างจากกล้ามเนื้อในธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น มีค่าแรงที่เกิดจากการหดตัวที่ต่ำกว่า มีขนาดของเซลล์ไมโอไฟเบอร์ที่สั้นกว่า เป็นต้น ทำให้ยังคงมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่ากล้ามเนื้อในธรรมชาติ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่