Awake Fiberoptic Nasotracheal Intubation

Awake Fiberoptic Nasotracheal Intubation

รศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

บทนำ

Fiberoptic bronchoscope (FOB) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติของทางเดินหายใจ และยังสามารถนำมาใช้ช่วยในการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งอาจจะใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธี direct laryngoscope ได้ยาก หรือใส่ไม่ได้เลย (พบได้ประมาณร้อยละ 0.5-4 และ 0.05-0.35 ตามลำดับ)

Introduction of FNI

Fiberoptic bronchoscopy (FOB)

  • เลือกใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-6 มม. หรือเล็กกว่า ID (internal diameter) ของท่อช่วยหายใจที่ใช้ใส่เล็กน้อย

  • และเลือกใช้ความยาว 60 ซม.

  • สามารถใช้ประโยชน์ในการช่วยใส่ท่อช่วยหายใจชนิด double lumen endobroncheal tube หรือใช้ตรวจ bronchus ได้

Advantage and Disadvantage of awake FBI

Advantage of awake FBI

การใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้ Fiberoptic bronchoscopy (FOB) ในขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวอยู่เรียกว่า awake FBI มีข้อดีกว่าการใส่ FBI ในผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบ กล่าวคือ

  • ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากกว่า

  • ใส่ได้ง่าย

Disadvantage of awake FBI

สำหรับข้อเสียของ awake FBI เมื่อเทียบกับการใส่ FBI ในผู้ป่วยที่ได้รับการดมยาสลบ ได้แก่

  • การใส่ในขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวอยู่ ผู้ป่วยจะมีความกลัวและไม่สบายจากการถูกใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปใน airway

  • การใส่ในขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวอยู่ ต้องการความร่วมมือของผู้ป่วยให้อยู่นิ่งๆ อ้าปาก แลบลิ้น หายใจเข้าลึก ๆ เป็นต้น

  • การให้ topical anesthesia ในบริเวณ airway เพื่อกด airway reflex นั้น พบว่า local anesthetic drug จะถูกดูดซึมได้ง่าย หากให้มากเกินไปผู้ป่วยอาจเกิด local anesthetic toxicity ได้

 

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่