กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย 18 ผลงานวิชาการเด่น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย 18 ผลงานวิชาการเด่น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ พร้อมมอบรางวัลให้แก่ผู้วิจัยที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์ มีคุณภาพ และมีผลกระทบต่อวงการด้านสาธารณสุข ในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 23 ประจำปี พ.ศ. 2558

สาขาที่ 1: โรคและการวิจัยพัฒนาสู่ความมั่นคงทางสุขภาพ

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย รางวัลที่ 1 เรื่องพาหะนำส่งระดับนาโนจากแบคทิริโอเฟจที่ถูกดัดแปลงเพื่อการนำส่งอย่างมีเป้าหมายของดีเอ็นเอวัคซีนชนิดกิน เสนอโดยนายธีรพงศ์ ยะทา จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รางวัลที่ 2 เรื่อง “DMSc Stem Pro” Mesenchymal Stem Cell สำหรับพัฒนาวิธีรักษาผู้ป่วยโรคจอตามีสารสีที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม: การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 เสนอโดยนางสาวอัจฉราพร ดำบัว จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 3 เรื่องผลของ Indoleamine 2,3-dioxygenase (IDO) ต่อการแสดงออกของ Dendritic cell Co-stimulatory molecules เสนอโดยนางสาวสุภาพร สุภารักษ์ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ รางวัลที่ 1 เรื่องการตรวจหาเชื้อไวรัสเวสต์ไนล์ในผู้ป่วยกลุ่มอาการไข้สมองอักเสบจากไวรัส พ.ศ. 2550-2556 เสนอโดยนางสุมาลี ชะนะมา จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 2 เรื่องฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขมิ้นขาวป่า เสนอโดยนางสาวปฐมาพร ปรึกษากร จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 3 เรื่องการพิสูจน์เอกลักษณ์เซลล์ต้นกำเนิด DMSc Stem Pro โดยเทคนิค Multiparameter Flow Cytometry เสนอโดยนายอภิชาติ โชติชูศรี สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

สาขาที่ 2: ใส่ใจสุขภาพ ใส่ใจมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพ

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย รางวัลที่ 1 เรื่องวิธีวิเคราะห์สารตกค้างหลายชนิดอย่างเร็วเพื่อหาปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ โดยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟ เสนอโดยนางวิชาดา จงมีวาสนา จากสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร รางวัลที่ 2 เรื่องการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารไตรฮาโลมีเทนในน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา เสนอโดยนางศศิธร สุกรีฑา จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 3 เรื่องการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์และตรวจสอบสารกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกในสภาวะจำเพาะ เสนอโดยนายศิริชัย สัญญะ จากสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ รางวัลที่ 1 เรื่องการตรวจพิสูจน์สมุนไพร “ไคร้เครือ” ด้วยวิธี LC-DAD-qTOF เสนอโดยนายอภิรักษ์ ศักดิ์เพ็ชร จากสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 2 เรื่องการปนเปื้อนเชื้อโรคอาหารเป็นพิษในเนื้อสัตว์ที่จำหน่ายในตลาดสดเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เสนอโดยนางสาวรัชฎาพร สุวรรณรัตน์ จากสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 3 เรื่องการศึกษาคุณภาพของโกฐน้ำเต้าในประเทศไทย เสนอโดยนางกันยารัตน์ ชลสิทธิ์ จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

สาขาที่ 3: เครือข่ายห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย รางวัลที่ 1 เรื่องการวิเคราะห์ประสิทธิภาพเซรุ่มแก้โรคบาดทะยักด้วยชุดน้ำยาสำเร็จรูป เสนอโดยนางสาวกนิษฐา ภูวนาถนรานุบาล จากสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 2 เรื่องการพัฒนาห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยในเขตบริการสุขภาพที่ 9 เสนอโดยนางสุภาคี สยุมภูรุจินันท์ จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 3 เรื่องการใช้งานตัวอย่างควบคุมคุณภาพชนิดแห้งสำหรับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี เสนอโดยนายสุทธิวัฒน์ ลำไย จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ รางวัลที่ 1 เรื่องการเตรียมตัวอย่างปัสสาวะสำหรับการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ รายการตรวจภาวะตั้งครรภ์ด้วยแถบทดสอบการตรวจโปรตีนและน้ำตาลด้วยแถบทดสอบชนิด 2 แถบ เสนอโดยนายกชกร อินต๊ะมูล จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 2 เรื่องการพัฒนาวิธีวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณ curcumin ในสารสกัดขมิ้นชันโดยวิธี HPLC เสนอโดยนายสันติ นิ่มน้อย จากสำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รางวัลที่ 3 เรื่องการประเมินคุณภาพและความปลอดภัยของปริมาณ Prekallikrein activator (PKA) ในผลิตภัณฑ์เลือดชนิดฮิวแมนอัลบูมินและฮิวแมนอิมมูโนโกลบุลิน ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเมษายน พ.ศ. 2557 เสนอโดยนางสาวเกวลิน รักษาสรณ์ จากสถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์