การป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ

การป้องกันการติดเชื้อ HIV ก่อนการสัมผัสเชื้อ

(Pre-exposure prophylaxis of HIV infection)

อ.นพ.สันติ สิลัยรัตน์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

บทนำ

ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการระบาดของเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human immunodeficiency virus: HIV) ได้มีความพยายามค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดและการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ ซึ่งหลายวิธี เช่น การส่งเสริมให้ผู้มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อค้นหาการติดเชื้อ ส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัย และการป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ก็เป็นวิธีการที่ค่อนข้างได้ผล และสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ลงได้ ดังเช่นข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จากเดิมปีละ 130,000 ราย ลดลงมาเหลือปีละ 55,000 ราย อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้จะยังคงใช้มาตรการดังกล่าวอยู่ แต่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับไม่ลดลงไปกว่านี้ได้ จึงจำเป็นต้องมีการค้นหาวิธีการใหม่เพื่อลดการติดเชื้อให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งได้แก่ การผ่าตัดขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย และการใช้ยาป้องกันการติดเชื้อก่อนการสัมผัสเชื้อ (Pre-exposure prophylaxis: PrEP) เป็นต้น

 

มาตรการในการป้องกันการติดเชื้อ HIV

ปัจจุบันมาตรการในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ที่ได้ผลมีอยู่หลายวิธี มาตรการที่จากการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพชัดเจน ได้แก่

1. การค้นหาและให้การรักษาผู้ที่ติดเชื้อแล้ว เพื่อลดโอกาสการติดต่อไปยังบุคคลอื่น

2. การจัดหาหรือแจกจ่ายอุปกรณ์ในการฉีดยาที่สะอาดและปลอดภัยสำหรับผู้ที่ใช้ยาชนิดฉีด

3. PrEP โดยพิจารณาเลือกใช้ตามกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจพบว่า กลุ่มที่มีการติดเชื้อรายใหม่สูงสุด ได้แก่ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (men who have sex with men: MSM) กลุ่มผู้ใช้ยาชนิดฉีด (injected drug users: IDUs) และการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชายหญิง ตามลำดับ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่