Clinical Practices 2015: Case Based Pediatrics เพิ่มพูนความรู้ในสาขากุมารเวชศาสตร์

Clinical Practices 2015: Case Based Pediatrics เพิ่มพูนความรู้ในสาขากุมารเวชศาสตร์

กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และภาควิชากุมารเวชศาสตร์ กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า จัดการประชุม Clinical Practices 2015: Case Based Pediatrics ระหว่างวันที่ 23-25 กันยายน พ.. 2558 ณ ห้องดุสิตธานี ชั้น 10 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในสาขากุมารเวชศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเด็กอย่างบูรณาการให้แก่กุมารแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และพยาบาล

..หญิง แสงแข ชำนาญวนกิจ หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดของกองทัพบก รับผิดชอบดูแลรักษาทหาร ครอบครัวทหาร และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ให้กับกองทัพและกระทรวงสาธารณสุข งานสำคัญด้านหนึ่งของกองกุมารเวชกรรม และภาควิชากุมารเวชศาสตร์คือ งานบริการสังคมในการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน

โดยที่ผ่านมา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และกองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ร่วมกันจัดงานประชุมวิชาการประจำปีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในปีนี้นับเป็นปีที่ 15 ในหัวข้อเรื่อง “Case Based Pediatricsโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในสาขากุมารเวชศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเด็กอย่างบูรณาการให้แก่กุมารแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และพยาบาล

“หัวข้อเรื่องของปีนี้เป็นการนำตัวอย่างผู้ป่วยเป็นกรณีศึกษาในการให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น น่าสนใจกว่าการบรรยายทฤษฎีอย่างเดียว และสามารถนำไปประยุกต์กับการดูแลผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน ซึ่งการประชุมนี้เป็นครั้งแรกที่จัดในลักษณะสหสาขาร่วมระหว่างแพทย์และพยาบาล เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าร่วมในการบรรยายรวม และเลือกเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการในส่วนที่สนใจหรือเหมาะสมกับงานประจำ” ..หญิง แสงแข กล่าว

..หญิง แสงแข กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งนี้ได้รวบรวมเนื้อหาที่น่าสนใจไว้มากมาย ได้แก่ 1. โรคเลือดธาลัสซีเมีย ซึ่งวิทยากรจะให้ความรู้ทั้งในด้านโลหิตวิทยาและความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการตรวจและการถ่ายทอดทางพันธุกรรม 2. โรคปอดเรื้อรังของทารกเกิดก่อนกำหนดในมุมมองของกุมารแพทย์ทารกแรกเกิดผู้รักษาทารกคนแรก และกุมารแพทย์โรคทางเดินหายใจผู้ติดตามรักษาทารกในระยะยาว 3. เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กในยุคศตวรรษที่ 21 การฝึกทักษะทางสังคม การสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็ก รวมทั้งผลกระทบทางเทคโนโลยีต่อเด็ก 4. โรคที่น่าสนใจอื่น เช่น โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ โรคลมชัก ปัญหาแคลเซียมต่ำในเด็ก โรคตับอ่อน และเรื่องวัคซีนต่าง ๆ 5. การวินิจฉัยจาก spot diagnosis ทั้งโรคผิวหนังและโรคทางพันธุกรรม และ 6. การประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการใส่สายทางเส้นเลือด percutaneous central venous line insertion สำหรับแพทย์ ในส่วนของพยาบาลมีเรื่องที่น่าสนใจ ได้แก่ 1. จริยธรรมและกฎหมายเกี่ยวกับการพยาบาล 2. การดูแลผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย โรคไต เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วย และ 3. การให้นมแม่สำหรับมารดาที่ทำงานสำหรับบุคลากรที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ด้านวิทยากรที่ได้รับเกียรติบรรยายแต่ละท่านล้วนแล้วแต่เป็นวิทยากรในโรงเรียนแพทย์ที่มีประสบการณ์มานาน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เช่นเดียวกับวิทยากรพยาบาลซึ่งเป็นวิทยากรที่มีประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ และได้รับการยอมรับในวงการพยาบาล

..หญิง แสงแข กล่าวเพิ่มเติมว่า ไฮไลท์ที่พลาดไม่ได้ในการประชุมครั้งนี้คือ การบรรยายร่วมของวิทยากรต่างสาขาในบาง session ทำให้ได้รับความรู้หลากหลาย นอกจากนี้แพทย์และพยาบาลในแต่ละโรงพยาบาลสามารถมาประชุมร่วมกันและนำความรู้กลับไปพัฒนางานของตนได้ในลักษณะของการทำงานเป็นทีม

“งานประชุมนี้เป็นครั้งแรกที่จัดร่วมระหว่างแพทย์และพยาบาล เพื่อให้ได้ประโยชน์ร่วมกันในการนำไปประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติ การบรรยายจะเป็นลักษณะอิงกรณีศึกษาเพื่อให้น่าสนใจและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ระยะเวลาการประชุม 2 วันครึ่ง ไม่นานเกินไป และไม่เครียดเกินไป คาดว่าผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งได้แก่ กุมารแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ แพทย์เวชปฏิบัติ และพยาบาลที่ดูแลเด็ก ประมาณ 200-300 ท่าน จะได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยเด็กในโรคที่พบบ่อย การดูแลสุขภาพเด็กดี และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนางานของตนในลักษณะของทีมงานร่วมระหว่างแพทย์และพยาบาล” ..หญิง แสงแข กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2763-4162, 0-2763-4163 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.pedpmk.org