Liraglutide ในผู้ป่วย Non-Alcoholic Steatohepatitis

Liraglutide ในผู้ป่วย Non-Alcoholic Steatohepatitis

Lancet. Published Online: 19 November 2015.

บทความเรื่อง Liraglutide Safety and Efficacy in Patients with Non-Alcoholic Steatohepatitis (LEAN): A Multicentre, Double-blind, Randomised, Placebo-Controlled Phase 2 Study ชี้ว่า glucagon-like peptide-1 (GLP-1) analogues ลด reduce hepatic steatosis, การสะสมของ liver enzymes และ insulin resistance ในสัตว์ทดลองที่เป็นไขมันพอกตับ ซึ่งแม้ analogues ดังกล่าวผ่านการรับรองให้ใช้สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ก็ยังคงไม่มีรายงานประสิทธิผลในผู้ป่วย non-alcoholic steatohepatitis การศึกษานี้จึงได้ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของ liraglutide ซึ่งเป็น long-acting GLP-1 analogue ในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว

การศึกษาแบบ multicentre, double-blinded, randomised, placebo-controlled phase 2 trial นี้มีขึ้นในอังกฤษโดยประเมินผลของ liraglutide แบบยาฉีดใต้ผิวหนัง (1.8 มิลลิกรัมต่อวัน) เทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรือตรวจพบ non-alcoholic steatohepatitis ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การทุเลาลงของ definite non-alcoholic steatohepatitis โดยที่พังผืดไม่รุนแรงขึ้นจากเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการรักษา (48 สัปดาห์) ข้อมูลวิเคราะห์ตามหลัก intention to treat ซึ่งรวมผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้ตรวจชิ้นเนื้อหลังการรักษา

ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2010 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 มีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย liraglutide และได้รับยาหลอก 26 ราย ผู้ป่วย 9 ราย (39%) จาก 23 รายซึ่งได้รับ liraglutide และได้ตรวจชิ้นเนื้อตับหลังการรักษามีการทุเลาลง definite non-alcoholic steatohepatitis เทียบกับ 2 ราย (9%) จาก 22 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (relative risk 4.3 [95% CI 1.0-17.7]; p = 0.019) ผู้ป่วย 2 ราย (9%) จาก 23 รายในกลุ่มที่ได้รับ liraglutide เทียบกับ 8 ราย (36%) จาก 22 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีการลุกลามของพังผืด (0.2 [0.1-1.0]; p = 0.04) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์พบบ่อยที่สุดมีความรุนแรงในระดับ grade 1 (ไม่รุนแรง) ถึง grade 2 (ปานกลาง) เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และคล้ายคลึงกันในทั้ง 2 กลุ่มทั้งด้านอวัยวะและอาการ โดยยกเว้นความผิดปกติของทางเดินอาหารในผู้ป่วย 21 ราย (81%) จาก 23 รายในกลุ่มที่ได้รับ liraglutide และ 17 ราย (65%) จาก 22 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก  ซึ่งรวมถึงท้องร่วง (10 ราย [38%] ในกลุ่มที่ได้รับ liraglutide vs 5 ราย [19%] ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก), ท้องผูก (7 ราย [27%] vs ไม่พบ) และเบื่ออาหาร (8 ราย [31%] vs 2 ราย [8%])

ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า liraglutide มีความปลอดภัยและความทนต่อยาที่ดี สามารถลด non-alcoholic steatohepatitis และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาว