กระตุ้นการรักษาแผลด้วยไฟฟ้า

กระตุ้นการรักษาแผลด้วยไฟฟ้า

ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

การหายตัวที่ช้าของบาดแผลแบบเรื้อรังบริเวณผิวหนังถือได้ว่าเป็นความท้าทายต่อการรักษาและมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น แผลที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดดำบริเวณเท้า และแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากการศึกษาพบว่าการสร้างหรือการเกิดหลอดเลือดใหม่ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการรักษาบาดแผล ซึ่งโดยทั่วไปพบว่าหากมีการสร้างหลอดเลือดใหม่ในบริเวณบาดแผลที่ไม่เพียงพอแล้ว จะส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาแผลนั้นเพิ่มมากขึ้นและกลายเป็นแผลเรื้อรังได้ การใช้เทคนิคการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าพบว่าสามารถช่วยเพิ่มการรักษาตัวของบาดแผลทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังได้ ผ่านการช่วยกระบวนการสร้างหลอดเลือดใหม่ดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้รวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้มีการเจริญของการเข้ามาของเซลล์คีราติโนไซต์และแมคโครฟาจ   รวมทั้งไฟโบรบลาสต์ และการสร้างโปรตีนในระยะต่าง ๆ ของการรักษาตัวของบาดแผล ทั้งนี้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบของกระแสตรงหรือกระแสสลับหรือแบบเป็นช่วง

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่