การประชุมวิชาการครั้งที่ 31 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย “STRONGER: Safety and Treatment Recognition in Ob N' Gyn for Excellent Results”

การประชุมวิชาการครั้งที่ 31 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย “STRONGER: Safety and Treatment Recognition in Ob N' Gyn for Excellent Results

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ครั้งที่ 31 และการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2559 ภายใต้ธีม “STRONGER: Safety and Treatment Recognition in Ob N' Gyn for Excellent Results” ระหว่างวันที่ 17-20 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ซ.ศูนย์วิจัย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในเวชปฏิบัติประจำวัน และถือเป็นโอกาสอันดีในการพบปะสังสรรค์ระหว่างมวลสมาชิกของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

รศ.นพ.มงคล เบญจาภิบาล ประธานคณะอนุกรรมการจัดประชุมวิชาการ กล่าวว่า ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย โดยคณะอนุกรรมการจัดการประชุมวิชาการ ได้กำหนดและจัดให้มีการประชุมทางวิชาการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง คือ การประชุมวิชาการกลางปีซึ่งจัดในเดือนเมษายน และการประชุมวิชาการ/การประชุมสามัญประจำปี ซึ่งจัดในเดือนตุลาคมของทุกปี

สำหรับเดือนตุลาคมปีนี้ เป็นการประชุมวิชาการสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ครั้งที่ 31 และการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2559 โดยมีธีมการประชุมคือ STRONGER: Safety and Treatment Recognition in Ob N' Gyn for Excellent Results” ซึ่งถือว่าเป็นการจัดงานต่อเนื่องจากการประชุมวิชาการกลางปีที่ผ่านมาที่มีธีมการประชุมคือ “STRONG: Skills, Trends & Reviews in O aNd G”

โดยในการจัดการประชุมวิชาการของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยแต่ละครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทั้งแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยหัวข้อที่คัดสรรมาในการประชุมแต่ละครั้งจะเน้นการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในเวชปฏิบัติประจำวัน นอกจากความรู้ทางวิชาการแล้ว ตลอดช่วงระยะเวลาของงานประชุมวิชาการยังถือเป็นโอกาสดีในการพบปะสังสรรค์ระหว่างมวลสมาชิกของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 2,600 คนทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่มวลสมาชิกสูตินรีแพทย์ ดุจดังสมาชิกครอบครัวเดียวกัน

รศ.นพ.มงคล กล่าวอีกว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นการรวบรวมความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ที่สามารถนำไปใช้ในเวชปฏิบัติประจำวันได้อย่างถูกต้อง มีมาตรฐานและเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบครบถ้วน โดยในวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จะเริ่มต้นจาก Pre-congress Workshop 4 เรื่อง ได้แก่

1. การรักษาผู้ป่วย POP ด้วย Pessary และการจัดตั้ง Pessary Clinic ในโรงพยาบาล

2. 3rd and 4th degree obstetrics anal sphincter injury surgery (OASIS) โดยคณะอนุกรรมการเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม

3. Counseling considerations for prenatal genetic screening โดยคณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็ก

4. ทำวิจัยให้ง่ายขึ้นด้วย Application โดยคณะอนุกรรมการวิจัย

ในส่วนของเนื้อหาของการประชุมหลัก (Main Congress) จะจัดระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดยวันแรกเริ่มจาก ปาฐกถาเกียรติยศ “หลวงไวทเยศรางกูร” โดย .เกียรติคุณ นพ.กำแหง จาตุรจินดา อดีตประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 2 วาระ ปี พ.ศ. 2545-2549 และ ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาประจำปี พ.ศ. 2558 ในหัวข้อ The role of RTCOG on prevention of maternal mortality and morbidity from unsafe abortion in Thailand” วันที่ 2 เป็นการบรรยายโดย .นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน ในหัวข้อ Research implementation: การนำผลงานวิจัยมาใช้” และติดตามด้วยหัวข้อทางสูติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิเช่น Interventions for reducing unnecessary cesarean section; Implementing labor companionship: WHO formative protocol โดย Dr.Metin Gulmezoglu วิทยากรรับเชิญจาก World Health Organization (WHO) และ Minimalist, but substantial PND โดย Dr.Ditas Decena วิทยากรรับเชิญจาก Asia and Oceania Federation of Obstetrics and Gynecology (AOFOG) นอกจากนี้ยังได้รับความรู้จากวิทยากรชั้นนำของประเทศในหัวข้อ Pregnancy in extreme-weight women; Lean & quality antenatal care: The new approach; Heart diseases in women: From pre-pregnant to postpartum period; Preterm PROM: What should we do now? และ Update on preeclampsia: From dawn to dusk

สำหรับหัวข้อทางนรีเวชกรรมจะเน้นเรื่องที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติประจำวัน เช่น Endometrial pathology: Alert & aware, Prophylactic salpingectomy: Pros’ & cons’ management; State of the art in premature ovarian failure (POF); Genital lesions: Illustrative lecture; Recurrent pregnancy loss: The endless tragedy; Voiding: Too fast (storage problem), too slow (emptying problem); New trends of contraception และเรื่องสำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ เวชปฏิบัติอย่างไรให้ปลอดภัยต่อผู้ป่วยและตัวสูตินรีแพทย์เอง (ไม่ให้ถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้อง) ในหัวข้อ Ethical issue in OB-GYN: เรียนรู้จากความผิดพลาด” จะเห็นได้ว่าทางคณะอนุกรรมการจัดการประชุมพยายามคัดสรรหัวข้อและเนื้อหาของการประชุมให้มีความหลากหลายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในเวชปฏิบัติประจำวันอย่างปลอดภัยสำหรับสูตินรีแพทย์ทุก ๆ ท่าน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับความรู้ทางวิชาการอย่างเต็มเปี่ยม ได้พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน ตลอดจนจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

“ในนามของคณะอนุกรรมการจัดการประชุมวิชาการและคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ใคร่ขอเชิญชวนท่านสมาชิกราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายมาร่วมประชุมวิชาการสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ครั้งที่ 31 และการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2559 ระหว่างวันที่ 17-20 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ค่าลงทะเบียน สมาชิกสามัญราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 3,500 บาท แพทย์ประจำบ้าน พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ 2,000 บาท สูตินรีแพทย์ที่ไม่ใช่สมาชิก แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 4,000 บาท โดยผู้ที่เข้าร่วมการประชุมจะได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องจำนวน 15 หน่วยกิต” รศ.นพ.มงคล กล่าวทิ้งท้าย 

ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2716-5721-2 โทรสาร 0-2716-5720 E-mail: congressrtcog@hotmail.com หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมทาง www.rtcog.or.th