โรคอ้วนและความเสี่ยง GFR decline

โรคอ้วนและความเสี่ยง GFR decline  

BMJ 2019;364:k5301.

บทความเรื่อง Adiposity and risk of decline in glomerular filtration rate: meta-analysis of individual participant data in a global consortium รายงานผลลัพธ์จากการวิเคราะห์อภิมานประเมินความสัมพันธ์ระหว่างมาตรวัดโรคอ้วน (ดัชนีมวลกาย รอบเอว อัตราส่วนรอบเอวต่อส่วนสูง) กับความเสื่อมของ glomerular filtration rate (GFR) และการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ

การศึกษารวบรวมข้อมูลจากประชากรทั่วไปรวม 39 กลุ่ม ระหว่างปี ค.ศ. 1970-2017 (n = 5,459,014) โดย 21 กลุ่ม (n = 594,496) มีข้อมูลรอบเอว, 6 กลุ่มมีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (n = 84,417) และ 18 กลุ่มมีโรคไตเรื้อรัง (n = 91,607) ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ GFR decline (estimated GFR decline ≥ ร้อยละ40, เริ่มการบำบัดทดแทนไต หรือ estimated GFR <10 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร) และการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ

จากมัธยฐานการติดตาม 8 ปี พบว่าอาสาสมัคร 246,607 ราย (ร้อยละ 5.6) ในกลุ่มประชากรทั่วไปเกิด GFR decline (18,118 ราย [ร้อยละ 0.4] เกิดไตวายระยะสุดท้าย) และเสียชีวิต 782,329 ราย (ร้อยละ 14.7) ภายหลังปรับปัจจัยด้านอายุ เพศ เชื้อชาติ และการสูบบุหรี่ พบว่า hazard ratios สำหรับ GFR decline โดยเทียบดัชนีมวลกาย 30, 35 และ 40 กับดัชนีมวลกาย 25 เท่ากับ 1.18 (95% CI 1.09-1.27), 1.69 (1.51-1.89) และ 2.02 (1.80-2.27) ตามลำดับ โดยมีผลลัพธ์สอดคล้องกันในทุกกลุ่มย่อยของ estimated GFR ความสัมพันธ์อ่อนลงภายหลังปรับโรคร่วมอื่น โดยมี hazard ratios เท่ากับ 1.03 (0.95-1.11), 1.28 (1.14-1.44) และ 1.46 (1.28-1.67)  ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและการเสียชีวิตมีลักษณะเป็น J shaped โดยมีความเสี่ยงต่ำสุดจากดัชนีมวลกายเท่ากับ 25    ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคไตเรื้อรัง (ค่าเฉลี่ยการติดตาม 6 ปี และ 4 ปี ตามลำดับ) พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายสูงและ GFR decline อ่อนกว่าในกลุ่มประชากรทั่วไป และความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายและการเสียชีวิตมีลักษณะเป็น J shaped โดยมีความเสี่ยงต่ำสุดระหว่างดัชนีมวลกาย 25 และ 30 จากทุกกลุ่มพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างรอบเอวและอัตราส่วนรอบเอวต่อส่วนสูงที่มากกว่ากับ GFR decline ใกล้เคียงกับความสัมพันธ์ที่พบจากดัชนีมวลกาย อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเสียชีวิตไม่สัมพันธ์กับรอบเอวหรืออัตราส่วนรอบเอวต่อส่วนสูงที่น้อยกว่า รวมถึงดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกาย รอบเอว และอัตราส่วนน้ำหนักต่อส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระต่อ GFR decline และการเสียชีวิตในผู้ที่มี estimated GFR ปกติหรือต่ำกว่าปกติ