การบัญชาเหตุการณ์

การบัญชาเหตุการณ์

ผศ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง   ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน   คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดอบรมเรื่องที่แน่ชัด ร่างคำพูดที่เหมาะสมและให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายออกข่าวซึ่งมีเรื่องราวน่าสนใจมากมาย โดยได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มาบรรยายด้วยกันหลายท่าน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบและไม่เคยต้องผจญกับภัยธรรมชาติมานานแสนนาน แต่หลังจากเกิดภัยสึนามิครั้งใหญ่ในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,000 คนใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย สำหรับภัยพิบัติในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในจังหวัด และทำให้ประเทศไทยตื่นตัวกับเรื่องภัยพิบัติกันอย่างแพร่หลาย

นับจากนั้นเป็นต้นมาประเทศไทยก็เริ่มประสบกับภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวหรือดินโคลนถล่มกันอีกหลายครั้ง ถึงแม้ไม่มีอันตรายร้ายแรงดังเช่นภัยสึนามิในปี พ.ศ. 2547 แต่ก็ทำให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านตอบโต้ภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างมากมายในประเทศไทย

นอกจากภัยธรรมชาติแล้วยังมีภัยจากสงคราม โดยที่วินาศกรรมคือภัยสงครามที่ผู้กระทำหวังว่าตนเองจะได้กลับ แต่การก่อการร้ายคือภัยสงครามที่ผู้กระทำหวังพลีชีพไปในเหตุการณ์นั้น ๆ

การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสอนหลักการบัญชาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในยามเกิดภัยพิบัติ แต่ฉันคิดว่ามีหลักการบริหารหลายอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้กับการบริหารงานต่าง ๆ ในยามปกติได้ด้วยเช่นกัน

การบัญชาการเหตุการณ์ หรือที่เรียกกันว่า Incident Command System คือระบบจัดองค์กรสำหรับการบังคับบัญชา (command) การควบคุม (control) และการประสานงาน (coordination) เพื่อตอบสนองต่อการที่หน่วยงานหลาย ๆ หน่วยมาร่วมปฏิบัติงานในสถานการณ์จำเพาะเพื่อระงับสถานการณ์ ปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม

ภารกิจประกอบด้วย 5 หน่วยหลัก คือ

Command – เราต้องทำอะไร

Planning – ขณะนี้เกิดอะไรขึ้น อะไรเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ

Operation – มีการตอบโต้เหตุปฏิบัติการอย่างไร

Logistics – เราสนับสนุนอย่างไร

Finance/administration – เราจะบันทึกและใครเป็นผู้จ่ายค่าดำเนินการ

นอกจากนี้ในกลุ่มที่อยู่ในศูนย์บัญชาการยังประกอบด้วย หน่วยรักษาความปลอดภัย (Safety) หน่วยสื่อสารสู่สาธารณะ (Public Information) และหน่วยประสานงาน (Liaison)

สรุปหน้าที่ของการบัญชาการคือ กระจายงานว่า ใครทำ ใครช่วย ใครจ่าย ใครพูด

นอกจากนี้ผู้บัญชาการควรมีการประสานงาน ดังนี้

บน – รายงานเจ้านาย

ล่าง – สั่งการลูกน้อง

ขวา – ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ดับเพลิง ตำรวจ

ซ้าย – ประสานโรงพยาบาลใกล้เคียง

ผู้บัญชาการควรให้กำลังใจลูกน้อง เช่น ตบบ่า หรือพูดว่าผมไว้ใจคุณเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน นอกจากนี้ควรมีลูกน้องอยู่สายงานประมาณ 2-7คน (เฉลี่ยประมาณ 5 คน) เพื่อให้สายบัญชาการกระจายงานได้ทั่วถึง และลูกน้องแต่ละสายงานก็สร้างทีมของตนเองเพื่อสั่งการประมาณ 2-7 คน เป็นเช่นนี้ต่อ ๆ กันไปจึงจะทำให้สายงานบังคับบัญชาได้ทั่วถึง

                คำที่ควรใช้สื่อสารกับลูกน้อง

  • หกคำ ควรจดจำเมื่อมอบหมายงาน คุณทำผมรับผิดชอบ
  • ห้าคำ เตือนใจบอกกล่าวเมื่อเขาทำดี คุณทำได้เยี่ยมมาก
  • สี่คำ เปิดทางให้เข้าร่วมเป็นเจ้าของ คุณคิดอย่างไร
  • สามคำ ที่ทรงคุณค่ายิ่งเมื่อไหว้วาน ขอความกรุณา
  • สองคำ ที่ต้องติดอยู่ที่ริมฝีปาก ขอบคุณ
  • คำเดียว ที่มีพลังสูงสุด เรา
  • คำเดียว ที่มีคุณค่าน้อยที่สุด ผม

การทำงานในการตอบโต้กับภัยพิบัตินั้น เราต้องปฏิบัติดังนี้อย่างเคร่งครัด

            1. ทุกคนมีเจ้านายคนเดียว แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีเจ้านายคนเดียวกัน

นั่นคือ ในสาธารณภัยที่จุดเกิดเหตุก็ต้องเชื่อฟังเจ้านายในจุดนั้น และในโรงพยาบาลก็ต้องเชื่อเจ้านายที่อยู่ในโรงพยาบาล

            2. ทำตามที่นายสั่ง

เพราะถ้าไม่ปฏิบัติตามที่สั่งก็ย่อมไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้

เป้าประสงค์ของระบบบัญชาการคือ ปลอดภัย สำเร็จ และประหยัด

การทำงานนั้น ถ้า - ระงับเหตุไม่ได้ ช่วยชีวิตคนไม่ได้ ภาพออกมาแย่ : งานห่วย

  - ระงับเหตุไม่ได้ ช่วยชีวิตคนไม่ได้ ภาพออกมาดี : งานดี

   - ระงับเหตุได้ ช่วยชีวิตคนได้ดี ภาพออกมาแย่ : งานแย่

   - ระงับเหตุได้ ช่วยชีวิตคนได้ดี ภาพออกมาดี : สุดยอดปรารถนา

            ดังนั้น ถึงแม้เราจะทำการระงับเหตุได้ดี ช่วยเหลือรักษาผู้บาดเจ็บได้ดี แต่แถลงข่าวไม่เป็นก็ทำให้ภาพการทำงานทั้งหมดแย่ตามไปด้วย

ดังนั้น การแถลงข่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ

หลายครั้งนักข่าวจากหลายสำนักมักแย่งกันหาข่าวเพื่อต้องการรายงานเป็นรายแรก

เราควรขอรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์และเบอร์แฟกซ์เอาไว้เพื่อขอเวลารวบรวมและติดต่อกลับไปใน 15-30 นาที ทั้งนี้เพื่อมีเวลารวบรวมข้อมูลที่แน่ชัด ร่างคำพูดที่เหมาะสมและให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายออกข่าว หลังจากนั้นก็พิมพ์ทีเดียวพร้อมกระจายไปยังสำนักข่าวทุกแห่งพร้อมกันทำให้ข่าวนั้นไม่ผิดเพี้ยน ก็จะทำให้ภาพการทำงานทั้งหมดถูกสื่อออกไปได้ดี

ถ้ามีการแถลงข่าวต่อหน้าสื่อมวลชนก็ควรเริ่มด้วยการทักทายนักข่าวให้มากที่สุดเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ก็จะทำให้ผู้สื่อข่าวทั้งหลายออมมือในการซักถามได้

การฝึกปฏิบัติตอบโต้ภัยพิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจอาจทำได้หลายแบบ ดังนี้

ฝึกปฏิบัติ (Exercise)

Table Top Exercise

Live Exercise

Table top

นำแผนและแนวทางการดำเนินการของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกันฝึกบนสถานการณ์จำลองบนโต๊ะ

Drill

ฝึกความชำนาญของแต่ละหน้าที่

Functional

นำแผนมาลองปฏิบัติว่าใช้งานได้จริงไหม

Full Scale

ซ้อมแผนและแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในสถานการณ์จำลองเหมือนจริง

- Table top exercise

- Drill

- Functional exercise

- Full scale

สรุป             ลักษณะผู้บริหาร แบ่งเป็น

  • ผู้บริหารที่ดี : นายใช้ เพื่อนชม ลูกน้องชอบ
  •  เกือบดี : นายชอบ เพื่อนชม ลูกน้องเฉย
  • ไม่ดี : นายไม่ชอบ เพื่อนเฉย ลูกน้องชัง
  • ที่หาดีไม่ได้ : นายเฉย เพื่อนชัง ลูกน้องชั่ว ตัวเองชุ่ย