Why obesity worsens COVID-19

Why obesity worsens COVID-19

โรคอ้วน (obesity) เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปกติจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ งานวิจัยจากอดีตจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนว่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น cancer, hypertension, diabetes, pulmonary and sleep apnea, cardiovascular disease, hematologic disease, thromboembolic disease เป็นต้น ซึ่งนำมาสู่ความพิการและการตายได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว กลไกที่เป็นไปได้ ได้แก่ ไวรัส ทำให้เกิดภาวะ inflammation, endothelial cells dysfunction เป็นต้น จนนำไปสู่ภาวะ hypercoagulability ได้ในที่สุด นอกจากนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของโรค COVID-19 แพร่กระจายไปทั่วโลก ก็มีงานวิจัยทางระบาดวิทยาที่พบว่า โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรค COVID-19 โดยพบว่า ยิ่ง BMI มากขึ้น ก็จะสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสมมติฐานที่น่าสนใจสำหรับนำไปประยุกต์ใช้สำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ว่า 1) การกักตัวเป็นระยะเวลานาน ๆ (quarantine หรือ lock down) อาจทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ปริมาณและชนิดของอาหาร ที่ประชาชนบางรายอาจไม่มีทางเลือกบริโภคมากนัก ดังนั้น จำเป็นต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแบบเฉพาะรายอย่างไร 2) มีการเคลื่อนไหวร่างกายไม่มากพอในระดับที่จะเป็น aerobic exercise ดังนั้น จำเป็นต้องมีการให้ความรู้เกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ ที่สามารถทดแทนการออกกำลังกายโดยปกติได้ 3) การขาดความต่อเนื่องของการรักษา เนื่องจากไม่สามารถไปเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ หรือประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจนไม่มีเงินจ่ายค่ายาหรือการรักษาที่จำเป็น ควรมีการวางแผนการจัดการ

อย่างไร เป็นต้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ผู้บริหารระดับประเทศ ผู้บริหารโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ควรให้ความสนใจเป็นอย่างมากและสร้างนโยบายการจัดการที่เหมาะสม เป็นรูปธรรม และเฉพาะกับบริบทของชุมชนนั้น ๆ ต่อไป

ที่มา:

https://www.mayoclinicproceedings.org/article/S0025-6196(20)30477-8/fulltext

https://science.sciencemag.org/content/369/6509/1280.full?fbclid=IwAR0zhS8w1405kpbdBxHdMkjfPyLX5_mzGEcGpVHmKlzF-QKmFHi2a5rK4x4

gaziemir escort