ข้อมูลผู้สูงอายุ 2554

ข้อมูลผู้สูงอายุ 2554

ในปี พ.ศ. 2553 และในปี พ.ศ. 2559 มีประชากรในวัยเด็ก 20.5%, 18.3% ในวัยทำงาน 67.6%, 66.9% และในวัยผู้สูงอายุ 11.9%, 14.8% ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่าประชากรในวัยเด็ก ในวัยทำงานจะลดลง แต่ประชากรในวัยผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 3.6% ในปี พ.ศ. 2537 เป็น 6.3% ในปี พ.ศ. 2545 เป็น 7.7% ในปี พ.ศ. 2550 และ 8.6% ในปี พ.ศ. 2554 และจำนวนผู้สูงอายุที่เป็นโสดก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน คือจาก 2.2% ในปี พ.ศ. 2537 เป็น 2.7% ในปี พ.ศ. 2545 และ 3.9% ในปี พ.ศ. 2554 และผู้สูงอายุที่เป็นม่าย หย่า หรือแยกกันอยู่มีถึง 31.4% ในปี พ.ศ. 2554 มีผู้สูงอายุที่อ่านออกเขียนได้เพียง 82.2% ในปี พ.ศ. 2554 มีผู้สูงอายุที่ต้องการที่จะทำงานถึง 26.2% ในปี พ.ศ. 2554 และผู้สูงอายุที่มีการออม ในปี พ.ศ. 2554 เพียง 35.8%

จำนวนผู้สูงอายุที่รับการตรวจสุขภาพในระหว่าง 12 เดือนก่อนการสัมภาษณ์ 56.7% เพิ่มจาก 35.2% ในปี พ.ศ. 2545 และ 48.1% ในปี พ.ศ. 2550 ส่วนภาวะสุขภาพร่างกายในระหว่าง 7 วันก่อนที่สัมภาษณ์มี ดีมาก 6.9% (2537), 5.8% (2545), 3.8% (2550) และ 4.3% (2554) ดี 31.4% (2537), 39.9% (2545) ,43% (2550), 38.4% (2554) ปานกลาง 35.8% (2537), 30% (2545), 43% (2550) และ 38.4% (2554) ไม่ดี 23% (2537), 22.1% (2545), 21.5% (2550), 14.4% (2554) และไม่ดีมาก ๆ 2.9% (2537), 2.2% (2545), 2.8% (2550) และ 1.5% (2554) ตามลำดับ สรุปก็คือ มีสุขภาพดีถึงดีมากในปี พ.ศ. 2554 43.7% ส่วนสุขภาพปานกลาง ไม่ดี ไม่ดีมาก ถึง 54.3% ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังคือ เป็นโรคความดันโลหิตสูง 25% (2537), 20% (2545), 31.7% (2550) และ 33.7% (2554) โรคเบาหวาน 5% (2537), 8.3% (2545), 13.3% (2550) และ 15% (2554) โรคหัวใจ 9.2% (2537), 7.2% (2545), 7% (2550) และ 4.8% (2554) โรคมะเร็ง 0.5% (2537), 0.5% (2545), 0.5% (2550) และ 0.9% (2554) โรคอัมพาต/อัมพฤกษ์ 3.8% (2537), 2.4% (2545), 2.5% (2550) และ 1.7% (2554) ตามลำดับ

ผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ในปี พ.ศ. 2550 12.6% ในปี พ.ศ. 2554 8.4% ดื่มแอลกอฮอล์ ในปี พ.ศ. 2550 3% ในปี พ.ศ. 2554 3.3% สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ในปี พ.ศ. 2550 1.8% ในปี พ.ศ. 2554 2% ออกกำลังกายเป็นประจำ ในปี พ.ศ. 2550 41.2% ในปี พ.ศ. 2554 37.8% รับประทานผักสดและผลไม้สดเป็นประจำ ในปี พ.ศ. 2550 63.1% ในปี พ.ศ. 2554 58.7% ตามลำดับ

ผู้สูงอายุจำแนกตามระดับการศึกษา ในปี พ.ศ. 2554 ไม่มีการศึกษา 11.8% ต่ำกว่าประถมศึกษา 4 4.7% ประถมศึกษา 72.5% มัธยมศึกษาตอนต้น 3% มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช./สูงกว่า ม.ปลาย แต่ต่ำกว่าอนุปริญญา 2.8% ปวส./ปวท./อนุปริญญา 1% ปริญญาตรี 3.2%!!! สูงกว่าปริญญาตรี 0.8% การศึกษาทางศาสนา 0.1% การศึกษาอื่น ๆ 0.1%

จำนวนเด็กประถมศึกษาจาก 5.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จะลดลงเป็น 3.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2583 และจำนวนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จาก 7 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จะลดลงเป็นเพียง4.8 ล้านคนในปี พ.ศ. 2573

รายได้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่

- ร้อยละ 33.2 มีรายได้เฉลี่ย/ปี ต่ำกว่า 20,000 บาท

- ร้อยละ 24.8 มีรายได้เฉลี่ย/ปี ต่ำกว่า 20,000-39,000 บาท

- ร้อยละ 16.5 มีรายได้เฉลี่ย/ปี ต่ำกว่า 40,000-59,999 บาท

- ร้อยละ 10.7 มีรายได้เฉลี่ย/ปี ต่ำกว่า 60,000-79,999 บาท

- ร้อยละ 3.9 มีรายได้เฉลี่ย/ปี ต่ำกว่า 80,000-99,999 บาท

- ร้อยละ 8.9 มีรายได้เฉลี่ย/ปี ต่ำกว่า 100,000-299,999 บาท

เมื่อพิจารณาจำนวนรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ผู้สูงอายุได้รับตามกลุ่มช่วงวัย พบว่าเมื่อสูงวัยขึ้นจะมีรายได้น้อยลงเพราะไม่ได้ทำงาน ผู้ที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่คือ ผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-64 ปี) ทั้งนี้เพราะยังพอมีเรี่ยวแรงพอที่จะทำงานมีรายได้

ร้อยละของผู้สูงอายุจำแนกตามแหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิต พ.ศ. 2554 จากบุตร 40.1, การทำงาน 35.1, เบี้ยเลี้ยงชีพ 11.4, บำเหน็จ/บำนาญ 6, คู่สมรส 3.1, ดอกเบี้ย 2.6, อื่น ๆ 1.7

และพบว่าร้อยละผู้สูงอายุที่หกล้มใน 6 เดือนก่อนสัมภาษณ์จำแนกตามกลุ่มช่วงวัย พ.ศ. 2554 วัยต้น 7.4, วัยกลาง 9.7 และวัยปลาย 11.8 การหกล้มของผู้สูงอายุเกิดขึ้นในบ้าน 40% นอกบ้าน 32.1% บริเวณบ้าน 27.9% ซึ่งทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาล 6.3% เป็นผู้ป่วยนอก 17.5% ไม่ต้องรักษา 59.3% ซื้อยารับประทานเอง 16.9%