การแก้ไขสายตาผิดปกติ (สั้น-ยาว) ด้วยเลเซอร์แบบ “Bladeless Laser” ด้วยเครื่อง “Femtosecond Laser” (เครื่องแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ โดยไม่ใช้ใบมีด)

การแก้ไขสายตาผิดปกติ (สั้น-ยาว) ด้วยเลเซอร์แบบ Bladeless Laser” ด้วยเครื่อง “Femtosecond Laser” (เครื่องแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ โดยไม่ใช้ใบมีด)

รศ.นพ.ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์  ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  สภากาชาดไทย

รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ จักษุแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันศึกษาวิจัย ค้นคว้า และฝึกฝน โดยการนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ทันสมัย มาใช้ในการบริการแก่ประชาชน อาทิ การนำเครื่อง “Femtosecond Laser” มาใช้ในการผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติด้วยวิธี LASIK ซึ่งเป็นการผ่าตัดโดย “ไม่ใช้ใบมีด” นับเป็นการนำมาตรฐานการรักษาที่เทียบเคียงกับต่างประเทศ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้มารับบริการ อีกทั้งยังเป็นการขยายฐานบริการทางการแพทย์ รองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

ฝ่ายจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพันธกิจสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทางด้านจักษุวิทยา ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา โดยมุ่งเน้นที่จะผลิต “จักษุแพทย์” ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านจักษุวิทยาที่ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นที่จะพัฒนางานด้านการรักษาและงานวิจัยทางจักษุวิทยาควบคู่กันไป

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ภาควิชาจักษุวิทยา/ฝ่ายจักษุวิทยา ได้พัฒนาเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานที่โดดเด่นและนำชื่อเสียงมาสู่สถาบัน อาทิ...

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่