นอนไม่เต็มอิ่มอาจเป็นโรคสมองเสื่อม

นอนไม่เต็มอิ่มอาจเป็นโรคสมองเสื่อม

HealthDay News: นอนไม่พอหรือหลับ ๆ ตื่น ๆ เป็นผลเสียต่อสมอง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ดังรายงานการศึกษาหลายเรื่อง เป็นที่ทราบกันช้านานว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีคุณภาพการนอนที่แย่มาก และใช้เวลาตื่นเวลากลางคืนมากกว่า หรือว่าการนอนยากเป็นอาการเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์ การศึกษานี้จึงเชื่อมโยงระหว่างการนอนและการเกิดโรคสมองเสื่อม

ในการศึกษาหนึ่ง นักวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ พบว่า การนอนน้อยหรือคุณภาพการนอนไม่ดีเกี่ยวกับการเพิ่มระดับ beta-amyloid ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นพิษสะสมมากขึ้น และกลายเป็นแผ่นในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์

นักวิจัยศึกษาคนแก่ 70 คน มีอายุเฉลี่ย 76 ปี จากการสแกนสมองพบว่า ผู้ที่บอกว่ามีการนอนน้อยต่ำกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน หรือผู้ที่หลับ ๆ ตื่น ๆ มีระดับสาร beta-amyloid ในสมองสูงกว่าผู้ที่นอนเกิน 7 ชั่วโมง นักวิจัยยังไม่อาจสรุปว่า การนอนที่ไม่ดีเป็นสาเหตุการสร้างสาร beta-amyloid หรือการที่มีสาร beta-amyloid สูงทำให้นอนไม่หลับ เรียกว่าเป็นได้ทั้งสองทาง ซึ่งจะต้องมีการวิจัยต่อไป

การค้นพบนี้นับเป็นส่วนสำคัญเพราะการรบกวนการนอนสามารถรักษาได้ในผู้สูงอายุ การรักษาการนอนไม่เต็มอิ่ม หรือพยายามทำให้หลับสบายอาจช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์

มีอีกรายงานวิจัยเสนอว่า เหตุผลหนึ่งที่มีการนอนไม่หลับอาจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ เพราะการนอนหลับจะช่วยขับสารพิษออกจากสมอง นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ พบว่าเมื่อหนูนอนหลับ เซลล์ในสมองเหมือนการสเปรย์ในเครื่องล้างจานให้ของเสียหลุดออกไป เช่น สาร beta-amyloid

การนอนหลับทำให้สมองเปลี่ยนโครงสร้างเป็นคนละแบบกับตอนตื่น ซึ่งพบในสัตว์ทดลอง ดังรายงานของ Dr.Mariken Nedergaad ในวารสาร Science หากพบในคนด้วยก็อาจอธิบายได้ว่าการนอนช่วยป้องกันสมอง

ในการศึกษาที่สามจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต พบว่าการนอนหลับทำให้ระงับผลจากยีน APOE-E4 ซึ่งเป็นยีนที่ทำให้พัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยทดสอบในคน 700 รายที่สูงอายุ ติดตามผลการนอนและความจำเป็น ระยะแรกไม่มีใครเป็นโรคสมองเสื่อมเมื่อเริ่มต้น อีก 6 ปีต่อมามี 98 รายเป็นโรคอัลไซเมอร์ และ 201 รายเสียชีวิต เมื่อตรวจสมองพบว่ามีแผ่นหนาและยุ่งเหยิงของโรคอัลไซเมอร์

การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงว่า การนอนไม่พอทำให้มีปัญหาด้านความจำและความคิด แม้ในคนปกติ ส่วนคนที่มีปัญหาการหายใจที่เรียกว่า sleep apnea ซึ่งทำให้ตื่นในเวลาสั้น ๆ นับร้อยครั้งก็มีปัญหาในด้านความจำ และเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อม