‘มื้อเช้า’ สร้างเชาวน์ปัญญา

‘มื้อเช้า’ สร้างเชาวน์ปัญญา

‘มื้อเช้า’ มื้ออาหารที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามไม่ค่อยรับประทานกัน เพราะการใช้ชีวิตที่เร่งรีบหรือตื่นมาแล้วรู้สึกว่ายังไม่หิวข้าว แต่ในความเป็นจริงแล้ว มื้อเช้าเป็นมื้อที่มีผลต่อความสามารถในการเรียนรู้จดจำและพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่น โดยปกติร่างกายคนเราจะไม่ได้รับอาหารในระหว่างนอนหลับเป็นเวลาหลายชั่วโมง ดังนั้น การไม่รับประทานอาหารเช้าอาจทำให้สมองได้รับสารอาหารไม่เพียงพอสำหรับการทำงาน โดยเฉพาะในเด็ก หากสมองได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การถดถอยของระดับเชาวน์ปัญญาได้ แต่ในปัจจุบันเรากลับพบว่ามีเด็กจำนวนมากที่ไปโรงเรียนโดยที่ไม่รับประทานอะไรเลยในตอนเช้า

ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์คนอร์ คัพโจ๊ก จึงได้โครงการ “มื้อเช้าเราพร้อม กับคนอร์คัพโจ๊ก ปี 2” รณรงค์ให้เด็กไทยรับประทานอาหารเช้าทุกวันอย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย โดยได้เชิญ ดร.คม กมลพัฒนะ นักโภชนาการจากยูนิลีเวอร์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารเช้าว่า “อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดของวัน และเป็นมื้ออาหารที่มีผลต่อเชาวน์ปัญญา” โดยมีหลายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์พบว่า ความเครียดที่เกิดจากการขาดสารอาหารมีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 9-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สมองต้องการพลังงานเพื่อการเจริญเติบโตของสมองเองและกระบวนการเรียนรู้จดจำ การรับประทานอาหารเช้าจึงมีประโยชน์ต่อระดับเชาวน์ปัญญาและการเรียนรู้จดจำเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องของ

         1. สมาธิดี....จำได้แม่น จำได้ไว โดยเฉพาะความจำระยะสั้น (Short-term memory) ในเด็ก อาหารเช้าช่วยให้เด็กมีสมาธิและสามารถจดจำเหตุการณ์ ทั้งมีความไวและความถูกต้องในการจดจำภาพและเสียง การนึกคำตอบได้อย่างทันที การจำจดลักษณะ และการจำเกี่ยวกับสถานที่และตำแหน่งของวัตถุได้ดีกว่าและไวกว่าเด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้า

         2. เห็นปุ๊บ...รู้ความแตกต่างรวดเร็ว เด็กที่รับประทานอาหารเช้าจะสามารถแยกแยะความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดี ไม่ว่าจะเป็นภาพเหมือน และวัตถุต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ดี ยืนยันได้จากการทดสอบจับคู่ภาพเหมือน (The Matching Familiar Figures Test) เด็กที่รับประทานอาหารเช้าสามารถแยกแยะความเหมือนของภาพได้ดี

         3. จำศัพท์ได้แม่น..เก่งภาษา เด็กที่รับประทานอาหารเช้ามีความสามารถในการจำคำศัพท์ได้ดีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะและความชำนาญด้านภาษา ยืนยันได้จากผลการศึกษาในกลุ่มเด็กที่มีภาวะขาดสารอาหารและไม่รับประทานอาหารเช้า หลังจากเด็กได้รับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอ เด็กกลุ่มนี้มีคะแนนทดสอบคำศัพท์ดีขึ้น

“เพื่อให้การรับประทานอาหารเช้ามีผลดีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้จดจำ คุณแม่ควรเตรียมอาหารเช้าที่ให้พลังงานร้อยละ 20-25 ของความต้องการต่อวัน หรือประมาณ 300-400 กิโลแคลอรีสำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี และที่สำคัญนอกเหนือจากพลังงานแล้ว อาหารเช้าควรให้โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ ใยอาหาร และควรมีปริมาณน้ำตาลน้อย นักวิทยาศาสตร์พบว่าอาหารเช้าที่ให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ หรือมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำมีส่วนเกี่ยวข้องกับความจำที่ดีขึ้น กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงหรือ PUFA มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเชาวน์ปัญญาในช่วงวัยเด็ก โดยพบว่ามีส่วนช่วยในเรื่องการจดจำและการอ่านในเด็กวัยเรียน โดยตัวอย่างอาหารเช้าที่แนะนำ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือซุปมะกะโรนี ใส่เนื้อสัตว์ หรือไข่ไก่และผักที่เด็กชอบ รับประทานร่วมกับผลไม้ และนมโคหรือนมถั่วเหลือง” ดร.คม กล่าว