กฎหมายใหม่เกี่ยวกับเครื่องสำอาง ตอนที่ 2

กฎหมายใหม่เกี่ยวกับเครื่องสำอาง ตอนที่ 2

ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

            ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของนิยามเครื่องสำอางซึ่งมีการปรับให้สอดคล้องกับอาเซียน ประเภทเครื่องสำอาง การจดแจ้งเครื่องสำอาง อายุของใบรับจดแจ้ง การส่งออกเครื่องสำอาง และฉลากของเครื่องสำอางต้องระบุอะไรบ้าง ครั้งนี้จะกล่าวถึงในประเด็นการแสดงคำเตือนของเครื่องสำอาง การโฆษณาขายเครื่องสำอาง เครื่องสำอางสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย อำนาจสั่งปิดร้านขายเครื่องสำอาง อำนาจจับกุม การค้น และการเรียกคืนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

7. คำเตือนของเครื่องสำอาง

            พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มาตรา 22 วรรคสอง (3)(ค) กำหนดให้เครื่องสำอางต้องแสดงคำเตือน เมื่อยังไม่มีประกาศฉบับใหม่ตามกฎหมายปัจจุบัน จึงยังคงใช้ประกาศตามกฎหมายฉบับเดิมคือ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ไปก่อน[1]

            ตัวอย่างคำเตือน

            - ตัวอย่างคำเตือนตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง การแสดงคำเตือนที่ฉลากของผ้าอนามัยชนิดสอด ต้องแสดงคำเตือนที่ฉลาก ดังนี้ (1) ไม่ควรใช้เมื่อภาชนะบรรจุฉีกขาด (2) ไม่ควรใส่ไว้ในช่องคลอดนานเกิน 8 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4-8 ชั่วโมง (3) ขณะใช้ หากมีอาการเป็นไข้ คลื่นเหียน อาเจียน วิงเวียน หน้ามืด ท้องเดิน และมีผื่นแดงขึ้นตามผิวกาย ให้นำผ้าอนามัยออก และรีบไปพบหรือปรึกษาแพทย์ทันที

            - ตัวอย่างคำเตือนตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง การแสดงคำเตือนที่ฉลากเครื่องสำอาง ฉบับที่ 1-6[2]

[1]

                  [1] ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 
[2]

                  [2] ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่อง การแสดงคำเตือนที่ฉลากเครื่องสำอาง (ฉบับที่ 6) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 อ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป) และไม่เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มาตรา 94 จึงอาจมีประเด็นด้านกฎหมายในอนาคตได้

 

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่