สธ.เร่งปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย บังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สธ.เร่งปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย บังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กระทรวงสาธารณสุขเร่งปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 21 ฉบับ ปรับปรุงเสร็จและประกาศใช้แล้วจำนวน 6 ฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน ทันสมัย ปรับปรุงการทำงานของข้าราชการให้มีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ

นพ.วิศิษฎ์ ตั้งนภากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย กล่าวถึงแนวทางการปรับปรุงพัฒนากฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการปรับปรุงพัฒนากฎหมายตามพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ก้าวทันกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก สอดคล้องกับสภาพสังคม มีความทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการ อำนวยความสะดวกผู้รับบริการและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีกฎหมายที่รับผิดชอบจำนวน 46 ฉบับ กฎหมายที่ดำเนินการปรับแก้ไปแล้วและไม่เปลี่ยนแปลงจำนวน 17 ฉบับ มีกฎหมายที่ปรับปรุงเสร็จและประกาศใช้แล้วจำนวน 6 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
2. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558
3. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
4. พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558
5. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
6. พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559

พร้อมกันนี้ได้ยกร่างกฎหมายอนุบัญญัติควบคู่กันไปกับการพัฒนากฎหมายที่ยังต้องปรับแก้และร่างใหม่ทั้งฉบับ จำนวน 29 ฉบับ โดยมีกฎหมายที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 15 ฉบับ แบ่งเป็นกฎหมายที่ต้องแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่
1. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยสุขภาพ พ.ศ. ....
2. ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ....
3. ร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
4. ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
5. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
6. ร่างพระราชบัญญัติควบคุมส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ….
7. ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ....
8. ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ....
9. ร่างพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ....

ส่วนกฎหมายที่ต้องแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่

1. ร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ....
2. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. ....
3. ร่างพระราชบัญญัติสมุนไพรแห่งชาติ พ.ศ. ....
4. ร่างพระราชบัญญัติอาสาสมัครสาธารณสุข พ.ศ. ....
5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเซลล์บำบัด พ.ศ. ....
6. ร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ….

ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับกระบวนการพัฒนากฎหมายให้รวดเร็วมากขึ้น เพื่อให้ทันต่อการบังคับใช้กฎหมายต่อไป