วัคซีนไข้เลือดออก ทางเลือกใหม่ในการป้องกันโรค

วัคซีนไข้เลือดออก ทางเลือกใหม่ในการป้องกันโรค

จากข่าวการจัดโปรโมชั่นการฉีดวัคซีนที่มาใหม่ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 นี้ของโรงพยาบาลต่าง ๆ อันเป็นที่สนใจของประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวัคซีนที่เป็นโรคที่มีมานานในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านกันมานาน วัคซีนนี้คือ วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก หรือไข้เลือดออกเดงกี

โรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue hemorrhagic fever: DHF) เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue viruses) ซึ่งเป็น RNA virus ใน Family Flaviviridae, Genus Flavivirus มี 4 serotypes ได้แก่ Dengue 1, 2, 3 และ 4 ติดต่อสู่คนโดยมียุงลาย (Aedes spp.) เป็นพาหะนําโรค การติดเชื้อไวรัสเดงกีมีอาการสําคัญคือ ไข้สูงร่วมกับอาการปวดตามร่างกาย มีผื่นแดง อาจมีเลือดออก ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากเป็นชนิดรุนแรงจะมีการรั่วของพลาสมาและระบบการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เส้นเลือดเปราะแตกง่าย มีจุดเลือดที่ผิวหนัง อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ตับโตกดเจ็บ และอาจเกิดภาวะช็อก (Dengue shock syndrome: DSS) นําไปสู่การเสียชีวิตได้(1)

รูปที่ 1 ยุงพาหะของไข้เลือดออก(2)

            โดยปกติโรคไข้เลือดออกเดงกีจัดเป็นโรคที่เป็นปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สําคัญ ซึ่งปกติแล้วประเทศไทยได้ดําเนินการเพื่อป้องกันควบคุมโรคโดยใช้มาตรการต่อยุงและคน และให้ชุมชนมีส่วนร่วม แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วกันว่าการกําจัดยุงลายให้หมดไปนั้นเป็นเรื่องที่ทําได้ยากมาก ดังนั้น กลยุทธ์ในการควบคุมโรคจึงอยู่ที่การควบคุมให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้น้อยที่สุด ในประเทศไทยการควบคุมยุงพาหะได้ผลในระดับหนึ่งเท่านั้น การแพร่ระบาดของโรคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและมีการระบาดใหญ่ในบางปี การพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่คาดหวังที่สําคัญในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเดงกี(1)

หลักการทำวัคซีนไข้เลือดออกเดงกีในปัจจุบันได้พัฒนาโดยใช้เทคนิคหรือวิธีที่หลากหลาย ดังรูปที่ 2 มีรายละเอียดและตัวอย่าง คือ

1. Empirically attenuate เป็นวิธีดั้งเดิม (classic method) ทําให้ไวรัสอ่อนฤทธิ์ด้วยการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ (passage) หลายครั้งจนทําให้ไวรัสอ่อนแอ เนื่องจากเกิดการกลายพันธุ์แบบสุ่มที่บางตําแหน่งของยีน จากนั้นจึงนําไวรัสที่ได้ไปพัฒนาเป็นวัคซีนต่อไป

2. Engineer specific attenuation เป็นวิธีกลายพันธุ์โดยการตัดนิวคลีโอไทด์ที่ตําแหน่งจําเพาะออกไป มีผลทําให้ไวรัสกลายพันธุ์และเป็นไวรัสที่อ่อนแอ ตัวอย่างเช่น การตัดนิวคลีโอไทด์จํานวน 30 นิวคลีโอไทด์ที่ตําแหน่งจําเพาะตรงด้านปลาย 3' non-translated region เพื่อทําให้ไวรัสก่อโรคมีความรุนแรงลดลง 

3. Engineer chimeric เป็นการแทนที่ยีนบางตําแหน่งระหว่างไวรัส 2 ชนิด ตัวอย่างในที่นี้ใช้เชื้อไวรัสไข้เหลือง เป็นไวรัสที่ใช้แลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของยีนกับเชื้อไวรัสเดงกี ไวรัสทั้ง 2 ชนิดเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันจึงมีความใกล้ชิดทางสายพันธุกรรมพอสมควร วิธีการของ chimeric คือ นํายีนที่สําคัญของเชื้อไวรัสเดงกี เช่น envelop gene, pre-membrane gene มาแทนที่ยีนบนจีโนมของเชื้อไวรัสไข้เหลือง 

4. Inactivate เป็นการใช้เชื้อไวรัสเดงกีที่ถูกทําให้หมดฤทธิ์และไม่สามารถเพิ่มจํานวนได้ การพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกเดงกีด้วยวิธีนี้ยังอยู่ระหว่างการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 

5. Subunit เป็นการใช้ชิ้นส่วนจากเชื้อไวรัสเดงกี ทําได้ด้วยวิธีทาง biological system เพื่อสร้างชิ้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเชื้อไวรัสเดงกี เช่น โปรตีน E หรือส่วนที่เป็น E domain III เป็นต้น

6. DNA vaccine เป็นการใช้ยีนบางส่วนในจีโนมของเชื้อไวรัสเดงกีตัดต่อเข้าไปในพลาสมิด แล้วนําเข้าสู่เซลล์ของร่างกายเพื่อให้มีการผลิตโปรตีนของชิ้นส่วนยีนดังกล่าว แล้วไปกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน 

 

ที่มา: Swaminathan S, Khanna N. Current Science 2010;98:369-78.

รูปที่ 2 เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกเดงกี(3)

 

จนในปัจจุบันวัคซีนที่ขึ้นทะเบียนที่เป็นผลิตภัณฑ์วัคซีนไข้เลือดออกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมาแล้วใน 13 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559 โดยสามารถฉีดในกลุ่มอายุ 9-45 ปี ได้ผลดี ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ประสิทธิภาพอาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป(3) วัคซีนนี้ผลิตขึ้นมาจากไวรัสที่มีชีวิตและถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงเมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อโรคไข้เลือดออก ซึ่งได้มีการทดสอบกับอาสาสมัครกว่า 3 หมื่นกว่ารายใน 2 ทวีปมาแล้ว และผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจ เรียกว่าเป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้เลือดออกได้ถึง 4 สายพันธุ์ จากผลการศึกษาพบว่าวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่ขึ้นทะเบียนนี้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ 93.2% ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล 80.8% และความสามารถในการป้องกันโรคไข้เลือดออกทั้ง 4 สายพันธุ์ได้อยู่ที่ 65.6% ซึ่งประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของวัคซีนในแต่ละสายพันธุ์นั้นจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งพบว่าสายพันธุ์ที่ 4 จะตอบสนองต่อวัคซีนตัวนี้ได้ดีที่สุด ส่วนสายพันธุ์ที่ 2 จะตอบสนองต่อวัคซีนนี้ได้น้อยที่สุด และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนนี้ก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกันทั้งเรื่องของอายุ โดยวัคซีนนี้จะได้ผลดีในกลุ่มเด็กอายุตั้งแต่ 9 ขวบ ไปถึงผู้ใหญ่อายุ 45 ปี รวมถึงประวัติของการได้รับเชื้อของผู้ป่วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้ที่เคยมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อนจะตอบสนองต่อวัคซีนตัวนี้ได้ดีกว่าผู้ที่ไม่เคยเป็น หรือไม่เคยได้รับเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน และอีกปัจจัยที่สำคัญคือ ชนิดของสายพันธุ์ไข้เลือดออกซึ่งจะให้ผลป้องกันไม่เท่ากัน(4)

            จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้น วัคซีนชนิดนี้เป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันไข้เลือดออกซึ่งการพิจารณาในการใช้นั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรประกอบการตัดสินใจ เพราะในปัจจุบันยังมีราคาสูงอยู่

 

เอกสารอ้างอิง

  1. วรวรรณ กลิ่นสุภา. การวิจัยพัฒนาวัคซีนในประเทศไทย: วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้เลือดออกเดงกี และวัคซีนเอดส์. https://mail.google.com/mail/u/0/#inbox/159ef2df33c5f040?projector=1
  2. http://resource.nationtv.tv/photo_news/2014/07/24/640_8iibbbd6iab85gg7hi88g.jpg
  3. นักวิจัยเผย 'วัคซีนไข้เลือดออก' การันตีควรฉีด-คุ้มค่าเงิน??. http://www.mamaexpert.com/posts/content-2534
  4. ครั้งแรกของเมืองไทยกับวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่สมิติเวช. https://www.samitivejhospitals.com/th/วัคซีนไข้เลือดออก/