ยาต้านไวรัสช่วยป้องกันผู้ป่วยเปลี่ยนไตจากไวรัสตับอักเสบ C ที่มาบริจาคได้

ยาต้านไวรัสช่วยป้องกันผู้ป่วยเปลี่ยนไตจากไวรัสตับอักเสบ C ที่มาบริจาคได้

            Reuters Health: Niraj Desai และคณะจาก Johns Hopkins University School of Medicine เผยแพร่รายงานผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด C ในผู้รับบริจาคไตจากผู้บริจาคที่มีการติดเชื้อว่า การใช้ยาต้านไวรัสทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการศึกษาแบบ pilot study ขนาดเล็กที่มีผู้รับบริจาคไตจำนวน 10 รายเข้าร่วมในการศึกษา ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่มีประวัติการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C มาก่อน และจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่มีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่ โดยผู้ป่วยทุกรายที่จะได้รับการเปลี่ยนไตจะได้รับการรักษาด้วยยา grazoprevir (GZR) ในขนาด 100 มิลลิกรัม และ elbasvir (EBR) ในขนาด 50 มิลลิกรัมก่อนการผ่าตัด หลังจากผ่าตัดแล้วผู้ที่ได้รับไตจากผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสชนิด genotype 1 จะได้รับการรักษาด้วยยาเดิมต่อไปอีก 12 สัปดาห์ ส่วนในผู้ที่ได้รับไตจากผู้บริจาคที่มีการติดเชื้อไวรัสชนิด genotype 2 และ 3 จะได้รับยา sofosbuvir ในขนาด 400 มิลลิกรัม เสริมไปกับยาเดิมต่ออีก 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยได้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตทุกคนเกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด C แต่ยาสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อได้ โดยภายใน 12 สัปดาห์ของการรักษาไม่มีการตรวจพบ RNA ของเชื้อในเลือดของผู้ป่วย และไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจากการใช้ยา

            ผู้วิจัยกล่าวว่า ผลการศึกษาเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น ดังนั้น จึงอาจจะต้องรอคอยผลจากการศึกษาที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ต่อไป แต่เชื่อว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการเปลี่ยนไต แต่มีข้อจำกัดในแง่ผู้บริจาคมีประวัติการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด C แม้ว่าการ