ยาที่มีผลทำให้การตรวจปัสสาวะเป็นผลบวก (ฉี่ม่วง)

ยาที่มีผลทำให้การตรวจปัสสาวะเป็นผลบวก (ฉี่ม่วง)

อ.ดร.ภก.สิกขวัฒน์ นักร้อง วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

หลายคนเข้าใจผิดว่าเมื่อมีการใช้สารเสพติดจะทำให้ปัสสาวะออกมามีสีม่วงเลย ซึ่งจริง ๆ แล้วปัสสาวะม่วงที่ว่า หมายถึงการนำปัสสาวะ(ที่มีสีปกติ) ไปผสมกับสารเคมีพิเศษที่ใช้ในการตรวจหาสารเสพติด หากผู้ถูกตรวจมีการใช้สารเสพติดจริง สารเคมีจะทำปฏิกิริยากับปัสสาวะและเปลี่ยนให้กลายเป็นสีม่วง ทำให้ถูกเรียกติดปากว่า “ฉี่ม่วง”

            การตรวจพิสูจน์เพื่อคัดแยกตัวอย่างปัสสาวะที่ให้ผลบวก คือมีความเป็นไปได้ว่าจะมีสารออกฤทธิ์ของ ยาบ้า เมทแอมเฟตามีน/แอมเฟตามีน/อีเฟดรีน หรือยาอี ผสมอยู่ออกจากตัวอย่างปัสสาวะที่ไม่มีสารเหล่านี้

            ขั้นตอนการตรวจสารเสพติดทางปัสสาวะมีดังนี้

         การตรวจคัดกรองขั้นต้น (Screening Test) เป็นการตรวจหาว่ามีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชนิดใด วิธีการตรวจคัดกรองขั้นต้นมีอยู่ 2 หลักการ คือ

1. (Color test)

2. (Immunoassay) (Test kits) (positive) (negative)

      เมื่อผลเป็นบวกจะมีการดำเนินการตรวจเพื่อยืนยันอีกครั้ง เพราะอาจมีสารหรือตัวรักษาโรคบางชนิดที่รับประทานอยู่และทำให้เกิดผลลวงได้

         การตรวจยืนยัน (Confirmation Test) โดยใช้หลักการทางโครมาโตรกราฟี (Chromatography) ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจขั้นสูง สามารถตรวจพบสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยได้และสามารถแยกชนิด ระบุประเภทของสารเสพติดได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เป็นมาตรฐานสากล นิยมนำมาใช้ตรวจคัดกรองในผู้ต้องสงสัยและตรวจประเมินในผู้ที่ต้องการรับการบำบัดสารเสพติดได้เป็นอย่างดี

            ทั้งนี้ในรายที่ตรวจคัดกรองขั้นต้นแล้วพบว่าผลเป็นบวก หรือมีข้อสงสัยว่ามีสารเสพติดในร่างกายจะต้องทำการตรวจยืนยันในขั้นต่อไป

รูปที่ 1 ขั้นตอนการตรวจสารเสพติดในร่างกาย

จากการตรวจคัดกรองขั้นต้น (Screening Test) สารที่อาจให้ผลบวกลวง หรือรบกวนการทดสอบโดยหลักการเคมีหรือคัลเลอร์เทสต์ (Color test) จากยาที่มีโครงสร้างที่เรียกว่ากลุ่ม amine อยู่ในโครงสร้างทางเคมีของยาด้วย จึงอาจจะมีโอกาสทำให้ฉี่ม่วงได้มีหลายชนิด  เช่น

  • คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
  • ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
  • เฟนิลโปรปาโนลามีน (Phenylpropanolamine)
  • เฟนฟลูรามีน (Fenfluramine)
  • เฟนเทอร์มีน (Phentermine)

รูปที่ 2 ตัวอย่างการตรวจColor test

            สารที่ให้ผลบวกลวง หรือรบกวนการทดสอบโดยหลักการภูมิคุ้มกันวิทยาหรือทางอิมมูโนแอสเสย์ (Immunoassay) เช่น

  • ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
  • อีเฟดรีน (Ephedrine)
  • รานิทิดีน (Ranitidine)
  • โปรเคน (Procaine)
  • คลอโรควิน (Chloroquine)
  • เฟนฟลูรามีน (Fenfluramine)

รูปที่ 3 วิธีการใช้และแปลผลโดย Immunoassay

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการรับประทานยาบางชนิดที่มีโครงสร้างหรือองค์ประกอบคล้ายสารเสพติดให้โทษตามกฎหมายนั้นสามารถทำให้ผลการตรวจ Screen test มีผลเป็นบวกและอาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาเหล่านี้ควรมีหลักฐานหรือเอกสารใบรับรองแพทย์ต่าง ๆ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์และช่วยให้ต้องมีการตรวจละเอียดในขั้นตอนต่อไป ส่วนในบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ เภสัชกร ควรเข้าใจและให้คำแนะนำต่อผู้ป่วยที่ใช้ยาเหล่านี้ในการรักษาโรคด้วยเผื่อกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ต้องมีการตรวจสารเสพติด

เอกสารอ้างอิง

  1. Rittichai Charoensapyanan. ฉี่ม่วงคืออะไร???. https://www.scispec.co.th/learning/index.php/blog/chromatography/
  2. การตรวจพิสูจน์เบื้องต้น (Screening Test). http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/narcotics/service2.htm
  3. ตรวจสารเสพติดในร่างกายมีวิธีใดบ้าง แม่นยำแค่ไหน ราคาเท่าไร” https://www.honestdocs.co/narcotic-test
  4. ชุดตรวจหาสารเสพติดมีกี่แบบ และต่างกันอย่างไร?. https://www.honestdocs.co/how-many-different-drug-detectors-are-there
  5. สถาบันบำบัดฯ เลิกใช้วิธีตรวจฉี่หาสารเสพติด Color test หรือ “ฉี่ม่วง”. https://medhubnews.com/
  6. กลุ่มงานเวชศาสตร์ชันสูตร. กองบริการทางการแพทย์. กรมราชฑัณฑ์. คู่มือยาเสพติดและการตรวจหาสารเสพติดเบื้องต้น. http://www.correct.go.th/ita/drugs.pdf
  7. อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล. กินยาอะไร? เสี่ยงโดนตรวจฉี่เป็นสีม่วง. https://www.facebook.com/notes/utai-sukviwatsirikul/