ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

ผมได้รับข้อมูลที่น่าสนใจจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงอยากนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มาแสดงให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ ในปี พ.ศ. 2555 มีผู้มีจิตศรัทธามาบริจาคโลหิต 356,327 คน เป็นชาย 166,117 คน (46.68%) เป็นหญิง 190,210 คน (53.32%) ซึ่งต้องขอชื่นชมสตรีเพศเป็นอย่างมากที่ได้มีความกรุณาเช่นนี้ ซึ่งจากจำนวนทั้งหมดนี้เป็นผู้บริจาคโลหิตใหม่ 88,538 คน เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำถึง 267,791 คน แต่...

หมู่โลหิตที่บริจาคมีกรุ๊ปเอ 77,518 คน (21.8%), กรุ๊ปโอ 135,487 คน (38%), กรุ๊ปบี 115,988 คน (32.6%) และกรุ๊ปเอบี 27,336 คน (7.7%) กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปี 27,309 คน (32.2%), อายุ 41-50 ปี 69,297 คน (19.4%), อายุ 51-60 ปี 25,889 คน (7.3%) มากกว่า 60 ปี 877 คน หรือ 0.2%

ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ จากยอด 356,327 คนที่บริจาคในปี พ.ศ. 2555 มี 208,476 คน (58.5%) ที่บริจาคครั้งเดียว, 76,424 คน (21.4%) บริจาค 2 ครั้ง, 45,193 คน (12.7%) บริจาค 3 ครั้ง, 24,204 คน (6.8%) บริจาค 4 ครั้ง และ 2,032 คน! (0.6%) กรุณาบริจาคมากกว่า 4 ครั้งต่อปี!

ที่ผมว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็เพราะว่ามีผู้บริจาค 1 ครั้งเท่านั้นต่อปีถึง 208,476 คน หรือ 58.5% ของยอดบริจาคทั้งปี ถ้าทุก ๆ ท่านเหล่านี้บริจาคปีละ 2 หรือ 3 หรือ 4 ครั้ง ปัญหาเรื่องการขาดโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะหายไปทันที (ยกเว้นโลหิตหมู่พิเศษ) ผมทราบดีว่ามีบ่อยครั้งที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติขาดเลือด ต้องออกโทรทัศน์ วิทยุบ่อย ๆ บางครั้งที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติมีคนมาบริจาคน้อยมาก บางวัน บางช่วง ก็แน่นเสียจนทุก ๆ อย่างช้าไปหมด และทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติให้บริการไม่ทันใจผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ที่ทำงานผมอยู่ใกล้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และผมทำงานใกล้ชิดกับท่านผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ คุณหมอสร้อยสอางค์ พิกุลสด และในฐานะเป็นแพทย์ผู้ใช้โลหิตและเป็นเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยคนหนึ่ง ผมจึงมีความสนใจการทำงานและปัญหาของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเป็นอย่างมาก และอยากเห็นศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติให้บริการพี่น้องประชาชนได้อย่างเพียงพอและทันท่วงที ซึ่งก็ต้องอาศัยความกรุณาและความร่วมมือของประชาชนชาวไทยทุก ๆ คน ที่เข้าข่ายที่จะบริจาคโลหิตได้

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติมีระบบ 3 ระบบที่จะรับบริจาคโลหิตคือ หนึ่งภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ (ได้รับ 317,244 หน่วย) สองหน่วยเคลื่อนที่ (ได้รับ 263,127 หน่วย) และสามจากสาขา คือออกหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตเสริมให้กับสาขาจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ (ได้รับ 16,745 หน่วย) รวมทั้งหมด 597,116 หน่วย

จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าการบริจาคโลหิตในปี พ.ศ. 2554 มียอดบริจาค 588,753 หน่วย และในปี พ.ศ. 2555 มียอดบริจาค 597,116 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นเพียง 8,363 หน่วยเท่านั้น และถ้าดูย้อนหลังอีก 3 ปีจะทราบว่าในปี พ.ศ. 2553 ได้รับบริจาค 571,185 หน่วย, ปี พ.ศ. 2552 ได้รับบริจาค 539,094 หน่วย และในปี พ.ศ. 2551 ได้รับบริจาค 497,410 หน่วย

จากการเปรียบเทียบจำนวนผู้บริจาคโลหิตใหม่ ปีงบประมาณ 2554, 2555 พบว่าในปี พ.ศ. 2554 มี 82,436 คน และในปี พ.ศ. 2555 มี 88,538 คน (หรือเพิ่มขึ้น 6,102 คน) แต่ในเดือนธันวาคม มกราคม มิถุนายน สิงหาคม กันยายน ของปีงบประมาณ 2555 มีผู้มาบริจาคโลหิตใหม่น้อยกว่าเดือนเดียวกันของปีงบประมาณ 2554

โลหิตหมู่พิเศษหรือหมู่โลหิต RH- (ลบ) หมายถึงหมู่โลหิตที่ไม่มีสารดีฉาบอยู่บนที่ผิวของเม็ดโลหิต เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในคนไทยพบหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3% หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น จึงมักจะเรียกกันว่าหมู่โลหิตพิเศษ เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้มักประสบปัญหาในด้านของการจัดหาผู้บริจาค หรือไม่ก็จัดหาได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ การจัดหาผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษในปัจจุบัน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติมีฐานข้อมูลผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษเพียง 5,000 คน ซึ่งยังเวียนกลับมาบริจาคอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอประมาณ 1,500 คน

จำนวนผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษ 5,718 คน เป็นกรุ๊ป A- 1,362 คน, กรุ๊ปB- 1,731 คน, กรุ๊ป O- 2,199 คน และกรุ๊ป AB- 426 คน

tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al tiktok takipçi satın al